หน้าหลัก
ทั้งหมด
ShotDev.Com Tutorial

การอบรมระดับนานาชาติ ในด้านสัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการอาหารและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (International Training on Animal Science, Food Technology and Aquaculture) ให้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง (National University of Battambang) ประเทศกัมพูชา, การจัดการและปรับปรุงการสืบพันธุ์ของปศุสัตว์ (การจัดการสืบพันธุ์ในโคเนื้อโคนมและฝึกปฏิบัติการผสมเทียม, การตรวจการตั้งท้องในโคโดยการล้วงตรวจด้วยมือและด้วยอัลตราซาวด์) โดย ผศ.ดร.สุรชัย สุวรรณลี หัวหน้าสำนักงานไร่ฝึกทดลองฯ, รศ.ดร.เรืองยศ พิลาจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์, 18 พฤษภาคม 2565 (27 ภาพ)


ผศ.ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นประธานและกล่าวเปิดงานในพิธีเปิดการอบรมระดับนานาชาติ ในด้านสัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการอาหารและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (International Training on Animal Science, Food Technology and Aquaculture) ให้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง (National University of Battambang) ประเทศกัมพูชา โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากธนาคารโลก (World Bank) ทั้งนี้คณะเกษตรศาสตร์ได้มีการจัดการอบรมดังกล่าวในระหว่างวันที่ 16-21 พฤษภาคม 2565 ในการนี้ ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ, ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน, ผศ.ดร.สุรชัย สุวรรณลี หัวหน้าสำนักงานไร่ฝึกทดลองฯ, รศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ หัวหน้าสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร, ดร.นิมมานรดี พรหมทอง หัวหน้าภาควิชาพืชสวน และ รศ.ดร.เรืองยศ พิลาจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดงานและร่วมต้อนรับผู้เข้าอบรม โดยมี ผศ.ดร.กาญจนา พยุหะ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการในพิธีเปิดการอบรมและร่วมต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม ที่ ห้องประชุมวรพงษ์ สุริยภัทร, 17 พฤษภาคม 2565 (40 ภาพ)


การอบรมระดับนานาชาติ ในด้านสัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการอาหารและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (International Training on Animal Science, Food Technology and Aquaculture) ให้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง (National University of Battambang) ประเทศกัมพูชา (การพาสเจอร์ไรส์และการแปรรูปอาหารฆ่าเชื้อ โดย ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด และผศ.ดร.วิริยา อ่อนสอาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร), 17 พฤษภาคม 2565 (21 ภาพ)


การอบรมระดับนานาชาติ ในด้านสัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการอาหารและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (International Training on Animal Science, Food Technology and Aquaculture) ให้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง (National University of Battambang) ประเทศกัมพูชา (การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของอาหารสัตว์ โดย ดร.จิตราภรณ์ เยียนเพชร อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ และนายวิชาญ แก้วเลื่อน นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ), 17 พฤษภาคม 2565 (10 ภาพ)


การอบรมระดับนานาชาติ ในด้านสัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการอาหารและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (International Training on Animal Science, Food Technology and Aquaculture) ให้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง (National University of Battambang) ประเทศกัมพูชา (การผลิตปลาสวยงาม โดย ดร.ชัยวุฒิ กรุดพันธ์ และดร.จรุงจิต กรุดพันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประมง), 17 พฤษภาคม 2565 (11 ภาพ)


ผศ.ดร. กาญจนา พยุหะ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมนักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการ ให้การต้อนรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 29 คน ภายใต้โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ โดยกำกับของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (โคงการ วมว.) พร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่จำนวน 3 คน โดยได้เข้ารับฟังสรุปผลงานวิจัยและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการคณะเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำโครงงานวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร และอาจจะมีการพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกับอจาจารย์และนักวิชาการคณะเกษตรศาสตร์ (40 ภาพ)


นายธนกร แก้วบัวสา ผู้อำนวยการโรงเรียนโพนงามศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร พร้อมด้วยคณะครู เข้าศึกษาดูงานที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ, 18 เมษายน 2565 (80 ภาพ)


สาขาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดอบรมเฉพาะทางให้แก่อาสาสมัครเพื่อนไทยที่จะไปปฏิบัติงานภายใต้โครงการพัฒนาความสามารถด้านประมงแก่วิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 14-31 มีนาคม 2565 โครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2565 ประกอบด้วยกิจกรรมการสร้างโรงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับห้องปฏิบัติการ ให้แก่วิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้แขวงจำปาสัก สปป.ลาว การพัฒนาบุคลากร (ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาประมง จำนวน 2 ทุน และหลักสูตรอบรมระยะสั้น) การพัฒนาหลักสูตร และการส่งอาสาสมัครเพื่อนไทย เพื่อไปปฏิบัติงานภายใต้โครงการฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ โดยมี ผศ.ดร.กาญจนา พยุหะ เป็นหัวหน้าโครงการ (15 ภาพ)


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมด้วยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะ ตรวจเยี่ยมโครงการ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ ในโรงเรือนที่มีคุณภาพสูง สำหรับตลาดพรีเมี่ยมในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “ศูนย์วิจัยชุมชนเกษตรอินทรีย์เมืองศรีไค” โดยมี รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ผู้บริหาร ทีมวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ ผศ.ดร.ทินน์ พรหมโชติ หัวหน้าโครงการ รายงานผลการดำเนินงาน ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเครือข่ายวิจัยภูมิภาคได้ชื่นชมผลการดำเนินงานของทีมงานวิจัยและต้องการให้มีการขยายพื้นที่การวิจัยเพิ่มขึ้น 20 กุมภาพันธ์ 2565 (19 ภาพ)


คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ดำเนินการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ของนักศึกษาและบุคลากรคณะ ณ คณะเกษตรศาสตร์, 15 กุมภาพันธ์ 2565 (12 ภาพ)


การแปรรูปผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13 กุมภาพันธ์ 2565 (59 ภาพ)


การอบรมบรรจุภัณฑ์มะเขือเทศเชอรี่เพื่อการจัดจำหน่วยและโลจิสติกส์ตลาดออนไลน์ ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12 กุมภาพันธ์ 2565 (31 ภาพ)


นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ในงาน “Field Day ถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์โรงเรือนคุณภาพสูง สู่ตลาดพรีเมี่ยมในจังหวัดอุบลราชธานี” โดยมี ผศ. ดร. ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดี รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ และ อาจารย์ นักวิชาการ คณะเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วมงาน กิจกรรมครั้งนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัยโดยมี ผศ. ดร.ทินน์ พรหมโชติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นหัวหน้าโครงการ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กิจกรรมครั้งนี้มีเกษตรกรซึ่งเป็นเครือข่ายและชุมชนเป้าหมายภายใต้โครงการบริการวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้าร่วมโครงการ, 4 กุมภาพันธ์ 2565 (35 ภาพ)


คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ระบบการตรวจวัดเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ WiMaRC (ไวมาก) กับการประยุกต์ใช้ด้านการเกษตร/เพื่อการจัดการแปลงที่แม่นยำทั้งในและนอกโรงเรือน (17 ภาพ)


พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563 และบรรยายกาศโดยรอบ ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 16 ธันวาคม 2564 (41 ภาพ)


Total 1006 Record : 68 Page : << Back [ 1 ][ 2 ][ 3 ][ 4 ][ 5 ][ 6 ][ 7 ][ 8 ][ 9 ][ 10 ][ 11 ][ 12 ][ 13 ][ 14 ][ 15 ][ 16 ][ 17 ] 18 [ 19 ][ 20 ][ 21 ][ 22 ][ 23 ][ 24 ][ 25 ][ 26 ][ 27 ][ 28 ][ 29 ][ 30 ][ 31 ][ 32 ][ 33 ][ 34 ][ 35 ][ 36 ][ 37 ][ 38 ][ 39 ][ 40 ][ 41 ][ 42 ][ 43 ][ 44 ][ 45 ][ 46 ][ 47 ][ 48 ][ 49 ][ 50 ][ 51 ][ 52 ][ 53 ][ 54 ][ 55 ][ 56 ][ 57 ][ 58 ][ 59 ][ 60 ][ 61 ][ 62 ][ 63 ][ 64 ][ 65 ][ 66 ][ 67 ][ 68 ] Next>>