English Language สายด่วนคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ โทรศัพท์ 045-353528 อีเมล์ narinthorn.b@ubu.ac.th                                                                                                                                                                  คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ พัฒนาคน ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง                                                                                                                                                                  คนรุ่นใหม่ หัวใจเกษตร พัฒนาประเทศ สู่เกษตร 4.0  
3.jpg
  menu tree menu tree
<<     April 2024     >>
Sun
Mon
Tue
Wed
Thu
Fri
Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
 0 events 
ปฏิทินกิจกรรม
วิดีโอแนะนำภาควิชา/สาขาวิชา
ภาควิชาพืชไร่
ภาควิชาพืชสวน
ภาควิชาสัตวศาสตร์
สาขาประมง
สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
เสียงพี่บัณทิต เล่าสู่น้องฟัง
คุณไพบูลย์ แก้วพวงดี ปธ.บริหาร บ. ยู-อโกร ปุ๋ยตรารถเก๋ง, ศิษย์เก่าชวนน้องเรียนเกษตร ม.อุบล
บทสัมภาษณ์ คุณวิวัฒน์ คล้ายแก้ว หัวหน่วย ธกส. อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี ชวนน้องๆ เรียนเกษตร ม.อุบล
บทสัมภาษณ์ คุณภานุวัฒน์ ศรีมูล บริษัท ยูอโกร ปุ๋ยตรารถเก๋ง ศิษย์เก่า ชวนน้องๆ เรียนเกษตร ม.อุบล
สัมภาษณ์ คุณยงยุทธ์ แดนพันธ์ ปธ.บริษัท VR Agro มหาสารคาม ศิษย์เก่า รุ่น 12 ชวนน้องเรียนเกษตร ม.อุบล
พี่บัณฑิตชวนน้องเรียนเกษตร
ณัฐกฤตา วงศ์ใหญ่ ศิษย์เก่าประมง ซึ่งได้ทุนเรียน AIT และทำงานที่ต่างประเทศ เชิญชวนน้องๆ เรียนเกษตร ม.อุบล
ว่าที่ร้อยตรีนุกูล อริกุล ศิษย์เก่าเกษตรศาสตร์ เชิญชวนน้องๆ เรียนเกษตร ม.อุบล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สภาคณบดีสาขาการเกษตร
TQF: การปรับปรุงหลักสูตรคณะเกษตรศาสตร์
ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 

 

 

useronline

ประวัติความเป็นมา
     คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เดิมเป็นภาควิชาเกษตรศาสตร์ สังกัดวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 โดยเปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2531 และฝากเรียนไว้ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขณะดำเนินการในรูปของวิทยาลัยก็ได้เริ่มสร้างระบบสาธารณูปโภค อาคารเรียน และอาคารฝึกงานต่างๆ ในพื้นที่ที่ได้รับการพิจารณาเลือกให้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัย บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 10 ถนนสายวารินชำราบ-เดชอุดม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บนเนื้อที่ 5,228 ไร่ ต่อมาในปีการศึกษา 2533 วิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 จึงได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย
การผลิตบัณฑิต
1. ผลิตบัณฑิตเกษตรระดับปริญญาตรี ที่มีความรู้ความสามารถในเชิงเกษตรทั้วไป ตามสาขาวิชาชีพเฉพาะด้าน โดยเน้นทางด้าน การวางแผนการผลิต กระบวนการผลิต การเก็บรักษาผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนถึงวิธีการจัดการและการตลาด
2. สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยทางการเกษตร เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับงานมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิต ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
3. ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เช่น การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การแสดงนิทรรศการ การอบรมเพื่อแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกร ได้รับเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการเพิ่มผลผลิต
หลักสูตรการศึกษา
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่ สาขาพืชสวน สาขาสัตวศาสตร์ สาขาเกษตรอุตสาหกรรม และสาขาประมง โดยทุกหลักสูตรมีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี หรือ 8 ภาคการศึกษา 150 หน่วยกิต การสอนจะเน้นหนักทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ มีห้องปฏิบัติการ เรือนทดลอง และพื้นที่ไร่ฝึกและทดลองประมาณ 4,000 ไร่ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอาคาร ปฏิบัติงาน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ กลุ่มอาคารประสานงาน และอาคารโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมเกษตร
รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร
งานวิจัยและความร่วมมือกับต่างประเทศ
     คณะเกษตรศาสตร์มีการร่วมมือทางวิชาการและวิจัยในด้านต่าง ๆ กับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (NRCT) Japan Sociaty for The Promotion of Science (JSPS) Tokyo University of Agriculture (TUA) Japan International Cooperation Agency (JICA) และสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) เป็นต้น
งานบริการชุมชน
     ให้การบริการทางวิชาการแก่ชุมชน ในรูปแบบของการฝึกอบรม มีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตร อันเป็นส่วนหนึ่งในการ่วมพัฒนาทรัพยากรบุคคล และอาชีพเสริมในท้องถิ่น
การรับนักศึกษา
1. การสอบคัดเลือกโดยวิธีรับตรงมหาวิทยาลัย จะดำเนินการสอบคัดเลือกเอง โดยรับจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจำนวนร้อยละ 60 ของจำนวนนักศึกษาในแต่ละปี
2. การสอบคัดเลือกร่วมโดยทางมหาวิทยาเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก ร่วมกับหาวิทยาลัยสถาบันอื่นๆ พร้อมกันทั่วประเทศ จำนวนร้อยละ 40 ของจำนวนนักศึกษา ในแต่ละปี